หน่วยที่ 3



ใบความรู้ 
พลเมืองเรื่องดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
ความหมายของ พลเมืองดี ในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ  ดังนี้
                พลเมือง  หมายถึง  ชาวเมือง  ชาวประเทศ  ประชาชน
                วิถี  หมายถึง  สาย  แนว  ทาง  ถนน
                ประชาธิปไตย  หมายถึง  แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
                ดังนั้นคำว่า พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย  จึงหมายถึง  พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ  คือ  เป็นผู้ที่ยึดมั่น
ในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา  มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต  ปฏิบัติตนตามกฎหมาย
ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ 
ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย
                หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ  ได้แก่
1)      หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  หมายถึง  ประชาชนเป็นเจ้าของ  อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
2)      หลักความเสมอภาค  หมายถึง  ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย  ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความ
      เท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ  ได้แก่  มีสิทธิเสรีภาพ  มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้น
      หรือการเลือกปฏิบัติ  ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า
3)      หลักนิติธรรม  หมายถึง  การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม
4)      หลักเหตุผล  หมายถึง  การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม
5)      หลักการถือเสียงข้างมาก  หมายถึง  การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย  ครอบครัว
       ประชาธิปไตย  จึงใช้หลักการถือเสียงข้างมากเพื่อลงมติในประเด็นต่าง ๆ  ได้อย่างสันติวิธี
6)      หลักประนีประนอม  หมายถึง  การลดความขัดแย้งโดยการผ่อนหนักผ่อนเบาให้กัน  ร่วมมือกันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์
      ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
      หลักการทางประชาธิปไตยจึงเป็นหลักการสำคัญที่นำมาใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคม  เพื่อก่อให้เกิดความสงบสุข
 ในสังคมได้

                                                         http://www.kr.ac.th/ebook/savalee/b1.files/image002.gif

แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ
1)      ด้านสังคม  ได้แก่
(1)    การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
(2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น
(3)    การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า
(4)    การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
(5)    การเคารพระเบียบของสังคม
(6)    การมีจิตสาธารณะ  คือ  เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ
2)      ด้านเศรษฐกิจ  ได้แก่
(1)    การประหยัดและอดออมในครอบครัว
(2)    การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ
(3)    การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า
(4)    การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
(5)    การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
(6)    การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี   มีความซื่อสัตย์  ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ
3)      ด้านการเมืองการปกครอง  ได้แก่
(1)    การเคารพกฎหมาย
(2)    การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
(3)    การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า
(4)    การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
(5)    การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม  กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 
      หรือสมาชิกวุฒิสภา
(6)    การทำงานอย่างเต็มความสามารถ  เต็มเวลา
http://www.kr.ac.th/ebook/savalee/b1.files/image004.gif


ใบความรู้ 
                                              เรื่อง จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี
                คุณธรรม  จริยธรรม  หมายถึง  ความดีที่ควรประพฤติ  กิริยาที่ควรประพฤติ  คุณธรรม  จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็น
พลเมืองดี  ได้แก่
1)      ความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  หมายถึง  การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย 
      การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา  และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
2)      ความมีระเบียบวินัย  หมายถึง  การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย  เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
     ในสังคม
3)      ความกล้าทางจริยธรรม  หมายถึง  ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
4)      ความรับผิดชอบ  หมายถึง  การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น  หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์
     จากการกระทำของตน
5)      การเสียสละ  หมายถึง  การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น  หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จาก
     การกระทำของตน
6)      การตรงต่อเวลา  หมายถึง  การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
                การที่บุคคลปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยแล้ว  ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลอื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
ในวิถีประชาธิปไตยด้วย  โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
1.         การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย  โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมมของศาสนาและ
      หลักการของประชาธิปไตยมาใช้ในวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง
2.         เผยแพร่  อบรม  หรือสั่งสอนบุคคลในครอบครัว  เพื่อนบ้าน คนในสังคม  ให้ใช้หลักการทางประชาธิปไตยเป็น
      พื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน
3.         สนับสนุนชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย  โดยการบอกเล่า  เขียนบทความเผยแพร่
      ผ่านสื่อมวลชน
4.         ชักชวน  หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรม
      สาธารณประโยชน์ของชุมชน
5.         เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของานรัฐในการสนับสนุนคนดี  และกำจัดคนที่เป็นภัยกับสังคม
การสนับสนุนให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย  ควรเป็นจิตสำนึกที่บุคคลพึงปฏิบัติเพื่อ
ให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ใบความรู้
 เรื่องการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก
                การที่บุคคลจะเป็นสมาชกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก  จะต้องคำนึงถึงสถานภาพ  บทบาท  สิทธิ  เสรีภาพ 
และหน้าที่ในการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
ความหมายของสถานภาพ  บทบาท  สิทธิ  เสรีภาพ  และหน้าที่
1)      สถานภาพ  หมายถึง  ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม  แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด 
      เช่น  ลูก  หลาน  คนไทย เป็นต้น  และสถานภาพทางสังคม  เช่น  ครู  นักเรียน  แพทย์  เป็นต้น
2)      บทบาท  หมายถึง  การปฏิบัติตามสิทธิ  หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล  เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพ
      ในคนคนเดียว  ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ
3)      สิทธิ   หมายถึง  อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง  เช่น  สิทธิเลือกตั้ง
      กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4)      เสรีภาพ    หมายถึง  ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย  เช่น  เสรีภาพในการพูด 
      การเขียน  เป็นต้น
5)      หน้าที่  หมายถึง  ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ  เช่น  หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร  เป็นต้น
ความสอดคล้องของสถานภาพและบทบาทของบุคคลในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
                สถานภาพและบทบาทของบุคคลที่สอดคล้องกัน เช่น
1)      พ่อ  แม่  ควรมีบทบาทดังนี้
(1)    รับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว
(2)    ให้การศึกษาต่อสมาชิกของครอบครัว
(3)    จัดสรรงบประมาณของครอบครัวให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของสังคมและโลก
(4)    ครองตนเป็นแบบอย่างที่ดีความรักต่อบุตร
2)      ครู  อาจารย์  ควรมีบทบาท  ดังนี้
(1)    ถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์โดยกระบวนการที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน
(2)    ครองตนให้เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
(3)    เป็นผู้เสียสละทั้งเวลาและอดทนในการสั่งสอนศิษย์ทั้งด้านความประพฤติและการศึกษา
(4)    ยึดมั่นในระเบียบวินัย  ตลอดจนปฏิบัติตามจรรยาบรรณครู
3)      นักเรียน  ควรมีบทบาท  ดังนี้
(1)    ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมและระเบียบของโรงเรียน
(2)    รับผิดชอบต่อหน้าที่ในการศึกษาหาความรู้
(3)    ให้ความเคารพต่อบุคคลที่อาวุโสโดยมีมารยาทที่เหมาะสมกับสถานการณ์
(4)    รับฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนอย่างมีเหตุผล
(5)    ขยันหมั่นเพียรในการแสดงหาความรู้เพิ่มเติม
(6)    เสริมสร้างความสามัคคีในครอบครัว  โรงเรียน  และชุมชน


http://www.kr.ac.th/ebook/savalee/b1.files/image006.gif






















http://www.kr.ac.th/ebook/savalee/b1.files/image008.gif
ใบความรู้
เรื่อง  การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ความหมายและขอบเขตของการอยู่ร่วมกัน
                การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  หมายถึง  การที่มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม  สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกันในรูปของกฎระเบียบหรือกฎหมาย  และมีคุณธรรม  จริยธรรมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  การมีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ 
ของสังคม  เช่น  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง  การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และการปฏิบัติตามคุณธรรมของการอยู่ร่วมกันตามหลักศาสนาที่ตนเองนับถือ  จะทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
คุณธรรมของการอยู่ร่วมกันตามหลักศาสนาที่บุคคลนับถือ
                หลักธรรมที่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของศาสนาต่าง  
                พระพุทธศาสนา
                พระพุทธศาสนา  มีหลักธรรมที่สำคัญที่หล่อหลอมให้พุทธศาสนิกชนเป็นคนรักสันติ  รักอิสระเสรี  มีนิสัยโอบอ้อมอารี มีเมตตากรุณาต่อกัน  ได้แก่
1)      สังคหวัตถุ 4  หมายถึง  หลักธรรมสำหรับสงเคราะห์หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกัน
       อย่างมีความสุข  ได้แก่
(1)    ทาน  คือ  การให้  แบ่งปัน  เสียสละ  เผื่อแผ่
(2)    ปิยวาจา  คือ  การกล่าววาจาสุภาพ  อ่อนหวาน
(3)    อัตถจริยา  คือ  การกระทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
(4)    สมานัตตตา  คือ  การวางตัวเหมาะสม  เสมอต้น  เสมอปลาย
2)      พรหมวิหาร 4  หมายถึง  ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหมในทางปฏิบัติ  หมายถึง 
      คุณธรรมของผู้ใหญ่  ซึ่งต้องมีประจำในอยู่ตลอดเวลา  มี  4  ประการ ดังนี้
(1)    เมตตา  คือ  ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น  ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
(2)    กรุณา  คือ  ความสงสาร  มีความปรารถนาช่วยผู้อื่นหรือสัตว์ที่ประสบความทุกข์  ให้พ้นทุกข์
(3)    มุทิตา  คือ  ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
(4)    อุเบกขา  คือ  ความวางเฉย  หรือความรู้สึกเป็นกลาง ๆ  ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อเห็นผู้อื่นประสบความสุข
      หรือความทุกข์
3)      สัปปรุริสธรรม 7 หมายถึง  หลักธรรมของคนดี  หรือหลักธรรมของสัตบุรุษ  7  ประการ  ได้แก่
(1)    ธัมมัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
(2)    อัตถัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักผล
(3)    อัตตัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักตน
(4)    มัตตัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
(5)    กาลัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
(6)    ปริสัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติ  การปรับตนและแก้ไขตนให้เหมาะสม
(7)    ปุคคลัญญุตา  คือ  ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกัน
ศาสนาอิสลาม
                หลักธรรมในศาสนาอิสลาม  มุ่งให้มุสลิมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  มุสลิมทุกคนมีความรู้ในข้อปฏิบัติทางศาสนาอย่างดี มีการรวมกลุ่มอย่างเป็นเอกภาพ
                หลักคำสอนสำคัญที่ถือว่าเป็นโครงสร้างสำคัญ 2 ประการคือหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ ได้แก่
1)      หลักศรัทธา  6  ประการ
(1)    ศรัทธาในอัลเลาะห์  มีความเชื่อมั่นในอัลเลาะห์เพียงองค์เดียว
(2)    ศรัทธาในเทพบริวารหรือเทวทูต
(3)    ศรัทธาในพระคัมภีร์กุรอ่าน
(4)    ศรัทธาต่อศาสนทูต
(5)    ศรัทธาในวันสิ้นสุดโลก
(6)    ศรัทธาต่อกฎสภาวการณ์ของอัลเลาะห์
2)      หลักปฏิบัติตามศรัทธา  5  ประการ  ได้แก่
(1)    การปฏิญาณตน  หมายถึง  การปฏิญาณตนด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่ออัลเลาะห์และท่าน
       นบีมูฮัมหมัด คือศาสนทูตของอัลเลาะห์
(2)    การนมาซ  หมายถึง  การแสดงความเคารพต่อพระเจ้าทั้งกาย  วาจา ใจ
(3)    การบริจาคซะกาต  หมายถึง  การจ่ายทานจากผู้มีทรัพย์สิน  คนผู้มีสิทธิ์รับซะกาตมี  คนอนาถา คนขัดสน  และผู้เข้ารับอิสลาม
(4)    การถือศีลอด  หมายถึง  การละเว้นจากการบริโภคอาหาร  น้ำ  ละกิเลสต่าง     ทำใจให้สงบ 
      ปฏิบัติตั้งแต่แสงอาทิตย์ขึ้นจนแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้า  หลังจากนั้นจึงบริโภคได้ปกติตลอดคืน 
      การถือศีลอดโดยทั่วไป  เรียกว่า ถือบวช
(5)    การทำพิธีฮัจญ์  คือ  การเดินทางไปแสดงบุญที่นครเมกกะฮ์
ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์มีหลักธรรมที่หล่อหลอมให้คริสต์ศาสนิกชนมีจิตเมตตา  มีความรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง
1)      บัญญัติ  10 ประการ
(1)    อย่ามีพระเจ้าอื่นนอกจากเรา
(2)    อย่าทำรูปเคารพสำหรับตนหรือกราบไว้รูปเหล่านั้น
(3)    อย่าเอ่ยพระนามของพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ
(4)    จงถือวันอาทิตย์เป็นวันศักดิ์สิทธิ์
(5)    จงนับถือบิดามารดา
(6)    อย่าฆ่าคน
(7)    อย่าผิดประเวณี
(8)    อย่าลักทรัพย์
(9)    อย่าคิดมิชอบ
(10)  อย่าโลภสิ่งใดของผู้อื่น
2)      หลักอาณาจักรพระเจ้า  อาณาจักรพระเจ้าเป็นอาณาจักรที่มีแต่ความสุข  เป็นอาณาจักรแห่งความรักอย่างแท้จริง
3)      หลักคำสอนที่สำคัญอื่น ๆ 
1)  หลักตรีเอกานุภาพ  ได้แก่
(1)    พระเจ้าหรือพระบิดา
(2)    พระเยซูหรือพระบุตร
(3)    พระจิตหรือดวงวิญญาณอันบริสุทธิ์ของพระเจ้าทั้งสาม
       2)  หลักความรัก  ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความรัก  พระเยซูคริสต์ทรงสอนให้รัก
            เพื่อน มนุษย์เหมือนรักตัวเอง  ให้รักแม้กระทั่งศัตรู
                ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์  ฮินดู
1)      หลักธรรม  10 ประการ  เรียกว่า ฮินดูธรรม  ได้แก่
(1)    ธฤติ  ได้แก่  ความมั่นคง  ความกล้าหาญ  คือเพียรพยายามจนสำเร็จ  ประโยชน์ตามที่ประสงค์
(2)    กษมา  ได้แก่  ความอดทน  หรืออดกลั้น  คือมีความพากเพียรพยายาม
(3)    ทมะ  ได้แก่  การระงับใจ  การข่มจิตใจ  คือไม่ปล่อยใจให้หวั่นไหว
(4)    อัสเตยะ  ได้แก่ การไม่ลักขโมย  ไม่ทำโจรกรรม
(5)    เศาจะ  ได้แก่  ความบริสุทธิ์  การทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
(6)    อินทรียนิครหะ  ได้แก่  การระงับอินทรีย์  10  ประการ  คือ  หมั่นสำรวจตรวจสอบตนเองอยู่เสมอว่า
      อินทรีย์ทั้ง 10 เหล่านั้นได้รับการบริหารหรือใช้ไปในทางที่ถูกที่ควรหรือไม่  จุดประสงค์คือ
ไม่ต้องการให้มนุษย์ ปล่อยอินทรย์มัวเมาจนเกินไปให้รู้จักพอ
(7)    ธี  ได้แก่  ปัญหา  สติ  ความคิด  คือ  มีความรู้ความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ธรรมะ สังคม และ
 วัฒนธรรม
(8)    วิทยา  ได้แก่  ความรู้ทางปรัชญา  คือ  มีความรู้ลึกซึ้ง
(9)    สัตยะ  ได้แก่  ความจริง  ความเห็นอันบริสุทธิ์  คือมีความจริงใจให้กัน
(10)  อโกธะ  ได้แก่  ความไม่โกรธ คือมีขันติ  ความอดทน  และโสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม  นั่นคือ เอาชนะ
  ความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ  ไม่อาฆาตมุ่งร้ายต่อใคร
สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา  คำสอนทางศาสนาเป็นหลักธรรมที่ใช้ในการ
ดำรงชีวิต  ช่วยพัฒนาสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  มีความปลอดภัย  เพราะทุกคำสอนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ 
ต้องการให้ทำความดี  จะเว้นชั่วและทำจิตใจให้บริสุทธิ์  มีเมตตาเป็นหลัก  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  มีความอดทนอดกลั้น
การมีสัมมาคารวะ  รักกันฉันพี่น้อง  ทำให้ผู้นับถือศาสนาเป็นมิตรที่ดีต่อกันโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ  ก่อให้เกิดสันติสุขต่อสังคมและต่อโลก

http://www.kr.ac.th/ebook/savalee/b1.files/image010.gif

http://www.kr.ac.th/ebook/savalee/b1.files/image012.gif

http://www.kr.ac.th/ebook/savalee/b1.files/image014.gif


















       




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น